ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
ธงชาติ
ตราแผ่นดิน
แผ่นที่ประเทศ
ชื่อทางการ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
เมืองหลวง จาการ์ตา (Jakarta)
ศาสนาประจำชาติ ศาสนาอิสลาม
วันชาติ 17 สิงหาคม
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (สมาชิกก่อตั้ง)
ภาษาประจำชาติ ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)
ภาษาราชการ ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)
ดอกไม้ประจำชาติ กล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
อินโดนีเซียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5,070,606 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 1,904,443 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร์
“ภูมิประเทศ” ทิศเหนือ ติดกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก
ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก ติดกับติมอร์ – เลสเต และปาปัวนิวกินี
ทิศใต้ ติดกับทะเลติมอร์
“ภูมิอากาศ” อินโดนีเซียอยู่ในเขตร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร มี 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม – ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน – เมษายน)
ประชากร
มีประชากรประมาณ 245 ล้านคน ประชากรมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ที่มีมากที่สุดคือ จาวา รองลงมาคือ ซุนดา มาดู มาเลย์ และยังมีชนชาติพื้นเมืองอื่นๆ ที่กระจายกันอยู่ตามเกาะต่างๆ
การเมืองการปกครอง
อินโดนีเซียปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร รวมทั้งเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยมีวาระการบริหารงาน 5 ปี และอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย สำหรับรัฐสภา จะประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนระดับภูมิภาค ซึ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะมีสภาประชาชนระดับท้องถิ่น
ประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 33 จังหวัด โดยเป็นเขตปกครองสถานะพิเศษ 5 จังหวัด คือ จาการ์ตา อาเจะห์ ยอกยาการ์ตา ปาปัว และปาปัวตะวันตก ซึ่งแต่ละจังหวัดมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักอยู่ด้วย
ประวัติของประเทศ
• ในอดีตอินโดนีเซียเป็นแหล่งเครื่องเทศที่สำคัญ จึงเป็นที่สนใจของชาวตะวันตก และตกเป็นอาณานิคมของประเทศเนเธอร์แลนด์นานกว่า 300 ปี
• พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ยึดครองอินโดนีเซียและขับไล่เนเธอร์แลนด์ออกไปได้สำเร็จ
• 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 อินโดนีเซียถือโอกาสประกาศเอกราชเพราะญี่ปุ่นแพ้สงคราม โดยมี ซูการ์โน เป็นประธานาธิบดีคนแรก แต่เนเธอร์แลนด์ไม่ยอมรับและพยายามกลับเข้ายึดครองอินโดนีเซียอีก ทำให้เกิดการสู้รบอย่างรุนแรง
• พ.ศ. 2489 ทั้งสองฝ่ายลงนามเพื่อยุติความขัดแย้งใน ข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) แต่ภายหลังเนเธอร์แลนด์ละเมิดข้อตกลงโดยนำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียอีก
• ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียจึงได้รับเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ก็ไม่คืนดินแดนอิเรียนจายาตะวันตกให้ จนในที่สุดประชาชนในดินแดนนั้นได้ลงประชามติขอเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียต่อสหประชาชาติจึงสามารถรวมกันได้สมบูรณ์ใน พ.ศ. 2506
บุคคลสำคัญ
ซูการ์โน (Sukarno)
ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซียซึ่งมีส่วนสำคัญในการประกาสเอกราชของอินโดนีเซียต่อประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียาวนานถึง 22 ปี จนถูกบีบให้ลงจากอำนาจโดยนายพล ซูฮาร์โต
โมฮัมหมัด ฮัตตา (Mohammad Hatta)
ผู้นำการเคลื่อนไหวและผู้ร่วมอุดมการณ์ในการกอบกู้เอกราชกับซูการ์โน เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกและรองประธานาธิบดีของประเทศ
อินโดนิเซียกับประชาคมอาเซียน
อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนเช่นเดียวกับประเทศไทยและมีบทบาทในอาเซียนมาโดยตลอด เช่น พยายามผลักดันให้อาเซียนมีบทบาทในเวทีโลก รวมทั้งเป็นประเทศผู้ประสานงานหลักใน 2 สาขาสำคัญ คือ สาขายานยนต์ปละผลิตภัณฑ์จากไม้ เพื่อเป็นฐานร่วมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย
ไทยกับอินโดนีเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2493 นอกจากนี้ไทยและอินโดนีเซียยังเป็นพันธมิตรกันทั้งในกรอบอาเซียนและเวทีระหว่างประเทศอื่นๆ โดยมีความร่วมมือกันในหลายด้าน เช่น การส่งเสริมด้านการศึกษาและมุสลิมสายกลาง ในด้านเศรษฐกิจมีการตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทางการประมงไทย – อินโดนีเซีย (Committee on Fisheries Cooperration – JC Sub) และความร่วมมือด้านพลังงานร่วมกัน (Indonesia – Thailand Energy Forum - ITEF) นอกจากนี้อินโดนีเซียเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยในอาเซียน รองมาจากมาเลเซียและสิงคโปร์
อาหารประจำชาติ
ชุดประจำชาติ
หญิง สวมเสื้อ “คะบาย่า” เสื้อแขนยาว คอแหลมผ่าหน้าอกเข้ารูปยาวปิดสะโพก ปักฉลุลายลูกไม้ เข้ากับผ้าโสร่งที่เป็นผ้าพื้นเมืองที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” หรือ “บาติก” โดยมีผ้าคล้องคอยาวและสวมรองเท้าแตะหรือส้นสูงแบบสากล
ชาย สวมเสื้อคอปิด สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ นุ่งกางเกงขายาว หรือโสร่งสีและลวดลายเข้ากับหมวก สวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าส้นสูงหุ้มส้น หากเข้าพิธีสำคัญจะเหน็บกริชด้วย ซึ่งวิธีแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามละเกาะ
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป
วายัง กูลิต (Wayang Kulit) เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ นิยมใช้วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง
ระบำบารอง (Barong Dance) ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดี กับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด
ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุมศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” คือส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมรลวดลายสีสันต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง
สกุลเงิน เปโซฟิลิปปินส์ (Philippine Peso - PHP)
อัตราการแลกเปลี่ยน 1.4 เปโซ = 1 บาท
43 เปโซ = 1 ดอลลาร์สหรัฐโดยประมาณ
ไำไำไไำ
ตอบลบ