หน้าเว็บ

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การก่อตั้งอาเซียน


 
มารู้จักกับประชาคมอาเซียนกัน
จากสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลกที่รุนแรง  ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2546  เหล่าผู้นำอาเซียนจึงได้ร่วมลงนานในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2  เพื่อแสดงความเห็นชอบให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community-AC) และมีการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ขึ้น โดยมีแบบอย่างมาจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) การจัดตั้งประชาคมอาเซียนนี้จะทำให้อาเซียนรวมตัวกันเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันมีความเข้มแข็งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มีศักยภาพในการแข่งขัน โดยหวังว่าจะดำเนินการจัดตั้งประชาคมให้สำเร็จภายในปี พ.ศ.2563 แต่เนื่องจากสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะทางด้านการเศรษฐกิจ จึงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จภายในปี พ.ศ.2558
สำหรับแผนการดำเนินงานของประชาคมอาเซียน  แบ่งออกเป็น 3 เสาหลักที่สำคัญคือ
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security   Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน    เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน   เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ
1.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2.การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
3.สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
4.ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
5.การสร้างเอกลักษณ์อาเซียน
6.การลดช่องว่างทางการพัฒนา

อาเซียนก่อตั้งเพื่ออะไร
      อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งมีการลงนามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศที่เป็นสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ณ วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยมีวัตถุประสงค์ตามปฏิญญากรุงเทพฯ 7 ประการดังต่อไปนี้
1.   ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2.   ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3.   ส่งเสริมการร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4.   ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5.   ส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และการปรับปรุงมาตรฐานการ
ดำรงชีวิต
6.   ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7.   ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร
 
อาเซียน+3 เป็นการร่วมมือกันในเรื่องต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ
เศรษฐกิจและการค้าระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
 
อาเซียน+6  ก็จะมีประเทศออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์  และ อินเดีย เพิ่มจากอาเซียน+3

กฏบัตรอาเซียน คืออะไร
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เป็นร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน จัดได้ว่าเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดของอาเซียน มีไว้เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการต่างๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15ธันวาคม พ.ศ.2551 หลังจากประเทศสมาชิกทั้งหมดได้ให้สัตยาบันในกฎบัตรร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น