ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
ธงชาติ
ตราแผ่นดิน
แผนที่ประเทศ
ชื่อทางการ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
เมืองหลวง สิงคโปร์ (Singapore)
ศาสนาประจำชาติ ไม่มีศาสนาประจำชาติ
วันชาติ 9 สิงหาคม
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (สมาชิกก่อตั้ง)
ภาษาประจำชาติ ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู
ภาษาราชการ อังกฤษ จีน มาเลย์ หรือภาษาทมิฬ
ดอกไม้ประจำชาติ กล้วยไม้แวนด้า มิส โจควิม (Vanda Miss Joaquim)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
สิงคโปร์เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 697 ตารางกิโลเมตร (มีขนาดเท่ากับเกาะภูเก็ตของไทย) โดยจะเป็นเกาะใหญ่หนึ่งเกาะ (เกาะสิงคโปร์) และเกาะเล็กๆ อีกมากกว่า 60 เกาะ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู ทางทิศเหนือติดกับช่อแคบยะโฮร์ ทิศใต้ติดกับช่องแคบสิงคโปร์ ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ และทิศตะวันตกติดกับช่องแคบมะละกา
“ภูมิประเทศ” ในภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศจะเป็นเนินเขา โดยภาคกลางจะมีเนินเขาที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญของสิงคโปร์ พื้นที่บริเวณชายฝั่งของสิงคโปร์จะมีลักษณะเว้าแหว่งเหมาะที่จะเป็นท่าเรือ
“ภูมิอากาศ” สิงคโปร์อยู่ในเขตอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกชุก ประเทศนี้มีอุณหภูมิคงที่ ไม่มีการแบ่งแย่งฤดูกาลที่ชัดเจน ในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม จัดเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด และในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคมจะเป็นช่วงมรสุม
ประชากร มีจำนวนประชากรประมาณ 5.08 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดเป็นอันดัน 2 ของโลก และประชากรก็มีความหลากหลายของเชื้อชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน รองลงมาจะเป็นชาวมาเลย์ และชาวอินเดีย
การเมืองการปกครอง
สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี) มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ สภาบริหาร รัฐสภา และสภาตุลาการ
ประวัติของประเทศ
• ในศตวรรษที่ 3 ของประวิศาสตร์จีน มีการกล่าวถึงสิงคโปร์เป็นครั้งแรก ในชื่อของ โปหลัวชาง (Pu-Luo-Chung) ที่หมายถึงปลายสุดของคาบสมุทร
• เดิมสิงคโปร์เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า เทมาเส็ก (Temasek) หรือ ทูมาสิก (Tumasik) มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง
• ในศตวรรษที่ 13 เจ้าชายแสง นิลา อุตามา (Sang Nila Utama) แห่งปาเลมบัง (Palembang) (นครพระราชอาณาจักรศรีวิชัยแห่งประเทศอินโดนีเซีย) เดินทางออกมาแสวงหาสถานที่สำหรับสร้างเมืองใหม่ และได้สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณเกาะเทมาเส็กและเปลี่ยนชื่อเป็น สิงหปุระ (Singapura)
• ใน พ.ศ. 2054 สิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส
• ใน พ.ศ. 2034 เซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ (Sir Stamford Raffles) ตัวแทนของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก (The British Bast India Company) เดินทางมาตกลงการค้ากับสุลต่านผู้ปกครองสิงคโปร์ โดยมีการลงนามทำข้อตกลงเพื่อให้สิทธิ์แก่อังกฤษในการก่อตั้งสถานีการค้าที่สิงคโปร์ และจักตั้งเป็นท่าเรือปลอดภาษี สำหรับประเทศแถบเอเชียรวมถึงสหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง และต่อมาก็ยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้
• ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่น แต่หลังจากสิ้นสุดสงคราม สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีกครั้ง
• ใน พ.ศ. 2506 สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากอังกฤษและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมลายา หรือมาเลเซีย
• ใน พ.ศ. 2508 สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย และประกาศตัวเป็นเอกราช ตั้งแต่นั้นมาสิงคโปร์ก็พยายามพัฒนาและปรับปรุงประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า และประชากรมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตสูงที่สุด
บุคคลสำคัญ
ลี กวนยู (Lee Kuan Yew)
นายกรัฐมนตรีคนแรกของ สิงคโปร์ ผู้นำพรรค People’s Action Party (PAP) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนานถึง 31 ปี ลี กวนยูเป็นผู้เปิดประเทศ ทำให้ประเทศสิงคโปร์มีความทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ด้วยเหตุนี้ ลี กวนยู จึงเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (Thomas Stamford Bingley Raffles)
ผู้บริหารอาณานิคม เป็นผู้ก่อตั้ง เมืองสิงคโปร์ และเป็นคนแรกที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสิงคโปร์เมื่อ พ.ศ. 2366 เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างศีลธรรม ห้ามการพนันและการค้าทาสในประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้เขายังนำบริษัทบริติชอินเดียวเข้ามาตั้งด่านสินค้า ทำให้ประเทศสิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญ
สิงคโปร์กับประชาคมอาเซียน
สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน และเป็นผู้ประสานงานหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในสาขาสินค้าและบริการที่สำคัญ 2 สาขา จาก 12 สาขา คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสุขภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสิงคโปร์
ไทยและสิงคโปร์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2508 และมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นมามากกว่า 40 ปี นอกจากนี้ไทยและสิงคโปร์ยังมีการพัฒนาความสัมพันธ์ให้เป็นไปในลักษณะของ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ในการดำเนินการในภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ
อาหารประจำชาติ
ชุดประจำชาติ
หญิง สวมเสื้อและผ้าถุงพิมพ์ลายสีสันสดใส
ชาย สวมสูทสากล
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติหลากหลายศาสนา ทำให้ประเทศนี้มีศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย สำหรับเทศกาลที่สำคัญของสิงคโปร์ก็จะกลายเป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา เช่น
เทศกาลตรุษจีน เทศกาลปีใหม่ของชาวจีนที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์
เทศกาล Good Friday จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขนของชาวคริสต์ในเดือนเมษายน
เทศกาลวิสาขบูชา จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้าของชาวพุทธในเดือนพฤษภาคม
เทศกาล Hari Raya Puasa เทศกาลการเฉลิมฉลองของชาวมุสลิม ที่จัดขึ้นเมื่อสิ้นสุดพิธีถือศีลอดหรือรอมฎอนในเดือนตุลาคม
เทศกาล Deepavall เทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูที่จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน
สกุลเงิน ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar SGD)
อัตราการแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ = 24.50 บาท
1 ดอลลาร์สิงคโปร์ = 0.80 ดอลลาร์สหรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น