หน้าเว็บ

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเทศเวียดนาม

ประเทศเวียดนาม (Vietnam)

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

แผ่นที่ประเทศ

ชื่อทางการ สาธรณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)
เมืองหลวง ฮานอย (Hanoi)
ศาสนาประจำชาติ ไม่มีศาสนาประจำชาติ
วันชาติ 2 กันยายน
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
ภาษาประจำชาติ ภาษาเวียดนาม
ภาษาราชการ ภาษาเวียดนาม
ดอกไม้ประจำชาติ ดอกบัว (Lotus) หรือเรียกว่า ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
            เวียดนาม มีลักษณะพื้นที่เป็นแนวยาวคล้ายตัว S มีพื้นที่ประมาณ 331,690 ตารางกิโลเมตร (3 ใน 5 ของไทย หรือประมาณ 65%) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีน ทางทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับทะเลจีนและอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดกับอ่าวตังเกี๋ยและทะเลจีน และทิศตะวันตกติดกับประเทศกัมพูชาและประเทศลาว
ภูมิประเทศ
       พื้นที่ของเวียดนามส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูง (โดยเฉพาะทางภาคเหนือ) คั่นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังมีชายฝั่งทะเลแคบๆ ที่ยาวจากเหนือจรดใต้
ภูมิอากาศ
             เวียดนามอยู่ในพื้นที่มรสุมเขตร้อน ทางภาคเหนือของประเทศจะมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม เมษายน) ฤดูร้อน (พฤษภาคม สิงหาคม) ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน พฤศจิกายน) และฤดูหนาว (ธันวาคม กุมภาพันธ์) ส่วนทางภาคกลางและภาคใต้จะมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (พฤษภาคม ตุลาคม) และฤดูแล้ง (ตุลาคม เมษายน)

ประชากร
            มีจำนวนประชากรประมาณ 86 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม รองลงมาจะเป็นชนกลุ่มน้อย ชาวเขา และชาวเขมร

การเมืองการปกครอง
             เวียดนามปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam : CPV) เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในประเทศ โครงสร้างการปกครองของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ        สภาแห่งชาติ (The Nation Assembly หรือ Quoc-Hoi) เป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ มีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการออกกฎหมายต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งและถอดถอนประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี
       องค์กรฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารประเทศ
       รัฐบาลท้องถิ่น (People’s Committee of Province) เวียดนามมีสภาประชาชนและคณะกรรมการประชาชนประจำท้องถิ่นเป็นองค์กรบริหารสูงสุดประจำท้องถิ่น โดยรัฐบาลท้องถิ่นจะบริหารงานตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎระเบียบที่รัฐบาลกลางบัญญัติไว้
 
ประวัติของประเทศ
     ช่วงประมาณ 700 ปีก่อนพุทธกาล พ.ศ. 1481 ประเทศเวียดนามตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีน ทำให้ได้รับอิทธิพลด้านศิลปวัฒนธรรม การปกครอง และแนวคิดขงจื้อมาจากจีน
     ใน พ.ศ. 2344 เวียดนามได้รับอิสรภาพจากจีน ด้วยความช่วยเหลือจากเมอซิเออร์ ปิกโน เอด เบอาง (Pigneu fe Behaine) มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส และความสามารถของแม่ทัพเหงียน อัน (Nguyen Anh) ซึ่งต่อมาได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิญาลอง
     ต่อมาในสมัยพระเจ้ามิงห์หม่าง มีนโยบายต่อต้านคาทอลิกเป็นเหตุให้ฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงเวียดนาม และใน พ.ศ. 2426 เวียดนามก็ตกเป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสได้แบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน คือ อาณานิคมโคชินจีนในภาคใต้ เขตอารักขาอันนามในตอนกลาง และเขตอารักขาตังเกี๋ยในภาคเหนือี
     ใน พ.ศ. 2484 เกิดเป็นขบวนการเวียดมินห์ขึ้น เพื่อขับไล่ฝรั่งเศสโดยมี โฮจิมินห์ เป็นผู้นำ
     ใน พ.ศ. 2497 เวียดนามทำอนุสัญญาเจนีวา เพื่อสงบศึกกับฝรั่งเศส เป็นผลให้เวียดนามต้องแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือภายใต้การนำพรรคคอมมิวนิสต์ และเวียดนามใต้ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย
     ใน พ.ศ. 2503 เกิดสงครามเวียดนาม เป็นสงครามระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ สงครามนี้ยุติลงได้ด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือ ทำให้เวียดนามรวมกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ชื่อประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

บุคคลสำคัญ
โฮจิมินห์  (Ho Chi minh) 
         นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ของเวียดนาม เป็นผู้นำการต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสและเรียกร้องเอกราชให้กับประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ยังเป็นผู้รวมเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และหลังจากสิ้นสุดสงครามเวียดนามก็มีการเปลี่ยนชื่อ ไซ่ง่อน (Saigon) เป็นโฮจิมินห์ซิตี (Ho Chi Minh City) เพื่อเป็นเกียรติแก่โฮจิมินห์

นายพล หวอ เหวียนหยาบ  (Vo Nguyen Giap)
         นักการทหารผู้ยิ่งใหญ่ของกองทัพเวียดนามของโลก เป็นผู้บัญชาการรบในสงครามและเป็นมือขวาคนสำคัญของโฮจิมินห์

เวียดนามกับประชาคมอาเซียน
       การรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และเพิ่มอำนาจในการต่อรองทางการเมืองของอาเซียนได้ ซึ่งหลังจากที่ประเทศสมาชิกทั้งหมดเห็นชอบร่วมกันให้จัดตั้งเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว เวียดนามได้รับมอบหมายให้เป็นประเทศผู้ประสานงานหลักในสาขาโลจิสติกส์ เพื่อเป็นฐานร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนาม
       ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเวียดนามอยู่ในระดับที่ดี โดยไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนามเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ไทยและเวียดนามมีการวางกลไกในการดูแลความสัมพันธ์ไว้หลายระดับในหลายๆ ด้าน นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกันในสาขาต่างๆ ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง ด้านการค้า (มีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด) ด้านวิชาการ สังคม และวัฒนธรรม

อาหารประจำชาติ

ชุดประจำชาติ
หญิง  สวมชุด อ่าว หญ่าย (Ao dai)” เป็นเสื้อคลุมยาวคอตั้งกับกางเกงขายาว
ชาย  สวมชุดที่คล้ายกับผู้หญิงแต่มีกระดุมที่ตัวเสื้อ
 

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
            ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของเวียดนามจะได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศส เวียดนามมีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่
       เทศกาลเต็ด (Tet)  หรือ เต็ดเหวียนดาน  (Tet Nguyen Dan)” หมายถึง เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของ ถือเป็นเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื้อ และศาสนาพุทธ รวมทั้งเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษด้วย
       เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวนหรือบันตรังทู และมีการจัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์
สกุลเงิน ด่อง (Dong - VND)
อัตราการแลกเปลี่ยน 700  ด่อง  =  1 บาท
         21,000  ด่อง  =  1 ดอลลาร์สหรัฐ  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น