หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เพลงอาเซียน


 มาฟังเพลงอาเซียนกันเถอะ




รูปภาพการ์ตูนอาเซียน



พม่า

ไทย

กัมพูชา

สิงคโปร์

อินโดนีเซีย

ลาว

เวียดนาม

มาเลเซีย

ฟิลิปปินส์

บรูไน
















ประเทศบรูไน

ประเทศบรูไน (Brunei)

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

แผ่นที่ประเทศ

ชื่อทางการ บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ศาสนาประจำชาติ ศาสนาอิสลาม
วันชาติ 23 กุมภาพันธ์
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน 7 มกราคม พ.ศ. 2527
ภาษาประจำชาติ ภาษามาเลย์ (Bahasa Malaysia)
ภาษาราชการ ภาษามาเลย์ (Bahasa Malaysia)
ดอกไม้ประจำชาติ ดอกซิมปอร์ (Simpor) ดอกซิมปอร์มีปรากฏอยู่บนธนบัตร 1 ดอลลาร์บรูไนด้วย  

ลักษณะทางภูมิศาสตร์
บรูไนมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้
ภูมิประเทศ ประกอบด้วยพื้นที่สองส่วนที่ไม่ติดกัน โดยพื้นที่ด้านตะวันตก มีประชากร 97% ส่วนพื้นที่ด้านตะวันออกซึ่งเป็นภูเขา มีประชากรเพียง 10,000 คน สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทางด้านเหนือของบรูไน ติดกับทะเลจีนใต้ ส่วนพรมแดนทางบกที่เหลือทั้งหมดถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวักประเทศมาเลเซีย
ภูมิอากาศภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิและความชื้นสูง และมีฝนตกชุกตลอดปี
 
ประวัติของประเทศ
     ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 – 16 บรูไนมีอำนาจและชื่อเสียงทางด้านการค้า และครอบครองอาณาเขตส่วนใหญ่ในเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลุ
     เดิมสิงคโปร์เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า เทมาเส็ก (Temasek) หรือ ทูมาสิก (Tumasik) มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองต่อมาเมื่อสเปนและฮอลันดาแผ่อำนาจเข้ามาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บรูไนก็เสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลง
     ใน พ.ศ. 2449 บรูไนได้ลงนามสนธิสัญญายินยอมเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ เพราะเกรงว่าจะต้องเสียดินแดนไป และหลังจากนั้นไม่นานบรูไนก็สำรวจพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนเป็นประเทศที่มีฐานะมั่งคั่ง
     ใน พ.ศ. 2505 พรรคประชาชนบอร์เนียวได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นจากการเลือกตั้ง แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล จึงมีความพยายามที่จะยึดอำนาจจากสุลต่านแต่ไม่สำเร็จ รัฐบาลของสุลต่านจึงประกาศกฎอัยการศึก โดยต่ออายุประกาศทุกๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
     บรูไนได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 หลังจากอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมานานถึง 95 ปี

บุคคลสำคัญ
สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี  ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
(His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)
      ทรงเป็นพระราชาธิบดีหรือสุลต่านองค์ปัจจุบันของบรูไน และยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย ซึ่งพระองค์ถือเป็นบุคคลสำคัญที่พลิกโฉมการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้บรูไนมีรายได้เพิ่มขึ้นมหาศาล

บรูไนกับประชาคมอาเซียน
บรูไนพยายามสร้างแรงจูงใจในการลงทุนจากต่างประเทศ โดยการจัดตั้งกระทรวงพลังงานขึ้นใหม่เพื่อทำหน้าที่ดูแลและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงาน และเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจที่มีความชำนาญแม้ไม่ได้เป็นมุสลิมเข้ามาดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีได้ เพื่อพัฒนาภาคเศรษฐกิจให้แข่งขันกับประเทศอื่นได้

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไน
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรูไน เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 โดยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาตลอด โดยเฉพาะในระดับราชวงศ์ และเป็นพันธมิตรกันทั้งในกรอบอาเซียนและสหประชาชาติ และมีความร่วมมือกับไทย ทั้งการทหาร การค้า แรงงาน วิชาการ การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม การลงทุนสำคัญของบรูไนในไทย คือ การร่วมกันจัดตั้งกองทุนร่วมที่ชื่อว่า กองทุนไทยทวีทุนและลงทุนใน โครงการเอเพ็กซ์ เซอร์คิต (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจจัดจำหน่ายแผงวงจรไฟฟ้าที่ลงทุนภายใต้ BOI (คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทย) รวมทั้งร่วมมือกันจัดกิจกรรม Thailand Festival 2003 เพื่อแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม โดยนำคณะนาฏศิลป์ไทยไปเปิดการแสดงที่ประเทศบรูไนในวาระฉลองครบรอบ 20 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต

อาหารประจำชาติ


ชุดประจำชาติ
หญิง สวมเสื้อคลุมยาว ที่เรียกว่า บาจูกูรงใส่กระโปรงมอดชิด และสวม ฮิญาบผ้าคลุมศีรษะสำหรับหญิงอิสลาม
ชาย  สวมเสื้อแขนยาว คอปิด กางเกงขายาว มีผ้าพันรอบเอว และสวมหมวกหรือมีผ้าพันศีรษะ

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา และการแต่งกายที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลามด้วย เช่น สตรีชาวบรูไนจะแต่งตัวมิดชิด และจะไม่ยื่นมือให้ผู้ชายจับมือทักทาย เป็นต้น
สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไน ตัวย่อ BND
อัตราการแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์บรูไน = 25 บาท
          1 ดอลลาร์บรูไน = 1 ดอลลาร์สหรัฐ  



วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเทศฟิลิปปินส์

ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

แผ่นที่ประเทศ

ชื่อทางการ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
เมืองหลวง มะนิลา (Manila)
ศาสนาประจำชาติ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอริกู
วันชาติ 12   มิถุนายน
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (สมาชิกก่อตั้ง) 
ภาษาประจำชาติ ภาษาฟิลิปิโน
ภาษาราชการ ภาษาฟิลิปิโน และ ภาษาอังกฤษ
ดอกไม้ประจำชาติ พุดแก้ว (Sampaguita Jasmine)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
            ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีมากถึง 7,107 เกาะ ซึ่งเมื่อรวมแล้วจะมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (เป็นพ้นดิน 298,170 ตารางกิโลเมตร) ถ้าลองเทียบขนาดแล้วก็จะมีขนาด 3 ใน 5 ของประเทศไทย
       ประเทศแห่งนี้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดกับทะเลจีนใต้ ทางทิศใต้และทิศตะวันออกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก
ภูมิประเทศ
             หมู่เกาะของฟิลิปปินส์จะเป็นหมู่เกาะของเทือกเขาหินใหม่ ทำให้มักเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดอยู่บ่อยครั้ง และในปัจจุบันนี้ก็ยังมีภูเขาไฟที่พร้อมจะปะทุอยู่อย่างน้อย 22 ลูก โดยเฉพาะภูเขาไฟมายอน (Mayon) พินาตูโบ (Pinatubo) และทาล (Taal) นอกจากนี้ฟิลิปปินส์ยังมีที่ราบแคบๆ ซึ่งจะมีที่ราบที่สำคัญ คือ ที่ราบตอนกลางของเกาะลูซอนที่เรียกว่า ที่ราบมะนิลา ถือเป้นที่ราบที่ใหญ่ที่สุด
       ฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 3 หมู่เกาะหลักๆ คือ ลูซอน (Luzon) เป็นหมู่เกาะทางตอนเหนือของประเทศ วิสายาส์ (Visayas) อยู่ทางตอนกลางของประเทศ และ มินดาเนา (Mindanao) อยู่ทางตอนใต้
ภูมิอากาศ
            ฟิลิปปินส์อยู่ในพื้นที่มรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน (ช่วงเดือนมีนาคม พฤษภาคม) ฤดูฝน (ช่วงเดือนมิถุนายน ตุลาคม) ฤดูหนาว (ช่วงเดือนพฤศจิกายน กุมภาพันธ์) และจากผลของการอยู่ในเขตมรสุม ฟิลิปปินส์จึงต้องประสบภัยธรรมชาติบ่อยครั้งจากพายุและไต้ฝุ่น

ประชากร
       มีจำนวนประชากรประมาณ 94 ล้านคน ซึ่งชนส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ที่เรียกว่า ชาวมลายูและรองลงมาจะเป็นลูกครึ่งจีน ลูกครึ่งสเปน และลูกครึ่งอเมริกัน

การเมืองการปกครอง
             ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นประมุขและเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ ฟิลิปปินส์จะแบ่งออกเป็น 17 เขต (79 จังหวัด และ 117 เมือง) โดยแบ่งเป็น หมู่เกาะลูซอน (Luzon) มี 8 เขต หมู่เกาะวิสายาส์ (Visayas) มี 3 เขต และหมู่เกาะมินดาเนา (Mindanao) มี 6 เขต

ประวัติของประเทศ
     เมื่อ พ.ศ. 2064 หลังจากที่เฟอร์ดินานด์ มาเจแลน (Ferdinand Magellan) นักสำรวจชาวโปรตุเกสค้นพบหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ทำให้ชาวตะวันตกได้รู้จักหมู่เกาะฟิลิปปินส์
     สเปนพยายามเข้ามาทำให้คนพื้นเมืองหันมานับถือศาสนาคริสต์จนทำให้เกิดความขัดแย้ง และในที่สุดสเปนก็เข้ามายึดครองฟิลิปปินส์ยาวนานกว่า 300 ปี
     ต่อมาเกิดขบวนการเรียกร้องอิสรภาพที่นำโดยโฮเซ รัชัล (Jose Rizal) ปัญญาชนชาวฟิลิปปินส์ ซึ่งก็ได้รับโทษประหารชีวิตในเวลาต่อมา
     ใน พ.ศ. 2441 สหรัฐอเมริกาและสเปนเกิดความขัดแย้งกันจนเกิดเป็นสงคราม แล้วสหรัฐก็ได้เข้ามาครองฟิลิปปินส์แทนสเปนนานถึง 14 ปี (ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2442 – พ.ศ. 2456)
     หลังจากนั้น ก็เกิดสงครามต่อต้านสหรัฐฯ ที่เรียกว่า Philippine – American War ก่อนจะได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489

บุคคลสำคัญ
โฮเซ รัชัล (Jose Rizal)
        เป็นนักเขียนและวีรบุรุษคนสำคัญในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากสเปน เขาเสียชีวิตจากการตัดสินโทษระหาร ซึ่งส่งผลให้ชาวฟิลิปปินส์ลุกขึ้นสู้จนขับไล่สเปนออกไปได้

รามอน แมกไซไซ (Ramon del Fierro Magsaysay)
          อดีตประธานาธิบดีคนที่ 3 ของฟิลิปปินส์ เป็นผู้ที่ทุ่มเทให้กับการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช และอุทิศตนช่วยเหลือผู้ยากไร้ในประเทศเหล่าประชาชนจึงยกย่องให้เขาเป็นวีรบุรุษ และมีการจัดตั้ง มูลนิธิรางวัลรามอน แมกไซไซ (Ramon Magsaysay Award Foundation)เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นเกียรติแก่นายมารอน ซึ่งต่อมาก็มีการมอบรางวัล แมกไซไซให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม ซึ่งรางวัลนี้ก็เปรียบได้กับรางวัลโนเบลแห่งเอเชีย

คอรีย์ อากีโน (Cory Aquino)
         ประธานาธิบดีคนที่ 11 ของฟิลิปปินส์ หลังจากเป็นผู้นำประชาชนเดินขบวนประท้วงโค่นล้มอำนาจของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ที่สำคัญคือเธอเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศฟิลิปปินส์และเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของทวีปเอเชีย

ฟิลิปปินส์กับประชาคมอาเซียน
              ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนเช่นเดียวกับไทย โดยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในอาเซียน ได้แก่ เป็นผู้ประสานงานการเจรจาระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ส่งเสริมการจัดทำแนวทางปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct in South China Sea) และยังเป็นผู้สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนอีกด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์
              ไทยและฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์กันในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา นอกจากนี้ฟิลิปปินส์ยังเป็นแนวร่วมของไทย เนื่องจากมีทัศนคติและแนวคิดที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะเรื่องของประชาธิปไตยและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และฟิลิปปินส์ก็เป็นประเทศแรกที่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492
       ในโอกาสการฉลองครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ก็ได้จัดทำแสตมป์ที่ระลึกและใช้ชื่อประเทศไทยเป็นชื่อถนน ถนน Rada (Thailand) Street ในกรุงมะนิลา นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งวงเวียนมิตรภาพฟิลิปปินส์ ไทยที่กรุงมะนิลาอีกด้วย ส่วนไทยก็ได้เปลี่ยนชื่อซอยข้างสถานเอกอุครราชทูตฟิลิปปินส์ในกรุงเทพฯ (ซอยสุขุมวิท 30/1) เป็นซอยฟิลิปปินส์

อาหารประจำชาติ 

ชุดประจำชาติ
หญิง นุ่งกระโปรงยาวและสวมเสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาบินตาวัก (Balintawak)
ชาย ใส่กางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่าบาลองตากาล็อก (Barong Tagalog)

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
            วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่
เทศกาลอาติ อาติหาน  (Ati - Atihan)
       จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu)
            เทศกาลชินูล็อก  (Sinulog)
       งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะจัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู (Cebu)
            เทศกาลดินาญัง  (Dinagyang)
       งานนี้จะจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกับเทศกาลชินูล็อก แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมที่เมืองอิโลอิโย (Iloilo)
สกุลเงิน เปโซฟิลิปปินส์ (Philippine Peso - PHP)
อัตราการแลกเปลี่ยน 1.4 เปโซ = 1 บาท
          43 เปโซ = 1 ดอลลาร์สหรัฐโดยประมาณ  




ประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

แผ่นที่ประเทศ

ชื่อทางการ สหพันธรัฐมาเลเซีย (Federation of Malaysia)
เมืองหลวง กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumper)
ศาสนาประจำชาติ ศาสนาอิสลาม
วันชาติ 31 สิงหาคม
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (สมาชิกก่อตั้ง) 
ภาษาประจำชาติ ภาษามาเลย์ (Bahasa Malaysia)
ภาษาราชการ ภาษามาเลย์
ดอกไม้ประจำชาติ ดอกบุหงารายา (Bunga Raya) 

ลักษณะทางภูมิศาสตร์
            มาเลเซียตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร มีพื้นที่ประมาณ 329,758 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ
         มาเลเซียประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น
มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดกับไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ โดยประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส และ 1 เขตที่ปกครองโดยรัฐบาลกลาง คือ เกาะลาบวน
มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลินมาตัน) มีพรมแดนทิศใต้ติดกับอินโดนีเซียทั้งหมด ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาร์และซาราวัก และ 2 เขตที่ปกครองโดยรัฐบาลกลาง คือ กัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) ปุตราจายา (เมืองราชการ)
ภูมิอากาศ
            ร้อนชื้นและฝนตกชุกตลอดปี โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสลมจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้

ประชากร
            มีจำนวนประชากรประมาณ 28.3 ล้านคน โดยมีเชื้อชาติหลักคือมลายู รองลงมาคือ จีน อินเดีย และเชื้อชาติอื่นๆ เช่น ไทย ทมิฬ ฮอลันดา อาหรับ เป็นต้น รวมถึงยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิม เช่น โอรังอัสลี อีบาน และคาดาดุนซุน เป็นต้น

การเมืองการปกครอง
            ปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เรียกว่า สมเด็จพระราชาธิบดี หรือ ยังดี เปอร์กวน อากง (Yang di pertuan Agong) ซึ่งเลือกจากเจ้าครองรัฐต่างๆ ผลัดเวียนกันทุกๆ 5 ปี ส่วนระบบรัฐบาล มัทั้งรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐและรัฐบาลแห่งรัฐปกครองแบบรัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา โดยมีนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุดของฝ่ายบริหารโดยประมุขของประเทศเป็นผู้แต่งตั้ง
       มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ ซึ่งแต่ละรัฐมีผู้ปกครองรัฐของตน และมี 3 เขตที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐ

ประวัติของประเทศ
     มาเลเซียเคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2054 โดยถูก โปรตุเกส ยึดครองช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นเส้นทางการค้าสำคัญในขณะนั้น และต่อมาตกเป็นของ ชาวดัตช์หรือเนเธอร์แลนด์
     ใน พ.ศ. 2359 ไทยหรือสยาม ได้ ไทรบุรี (เกดะห์) กลันตัน และตรังกานู เป็นเมืองขึ้น
     พ.ศ. 2367 อังกฤษ เข้ายึดครองต่อจากดัตช์และได้จัดตั้งเขตปกครองรวม ปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ เรียกว่า เขตจัดตั้งช่องแคบ (The Straits Settlements)
     มาเลเซียได้รับเอกราชในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 โดยใช้ชื่อประเทศว่า สหพันธรัฐมาลายา และมีนายกรัฐมนตรีคนแรกชื่อ ตนกู อับดุล ราห์มาน
     พ.ศ. 2506 ได้มีการรวมสหพันธรัฐมาลายา สิงคโปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกันเป็น สหพันธรัฐมาเลเซีย ซึ่งต่อมาบรูไนและสิงคโปร์ได้แยกตัวออกเป็นอิสระภายหลัง
 
บุคคลสำคัญ
ดร. มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด (Dr.Mahathir bin Mohammad)
นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด เป็นผู้วางรากฐานพัฒนาประเทศในรูปแบบของแผนพัฒนาประเทศที่มีชื่อว่า VISION 2020 ซึ่งเป็นผู้นำมาเลเซียสู่ความเจริญทัดเทียมนานาประเทศ

ตนกู อับดุล ราห์มาน  (Tunku Abdul Rahman)
      นำมาเลเซียไปสู่เอกราชและเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของประเทศ (Bapa of Malaysia)

มาเลเซียกับประชาคมอาเซียน
 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยมีบทบาทสำคัญคือ เป็นประเทศผู้ประสานงานหลักใน 2 สาขาสำคัญ คือ ผลิตภัณฑ์ยางกับสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เพื่อเป็นฐานร่วมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
       ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 และได้พัฒนาความสัมพันธ์จนมีความใกล้ชิดกันมาก เนื่องจากไทยและมาเลเซียต่างก็มีผลประโยชน์และทำข้อตกลงร่วมกันไว้ในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข วิทยาศาสตร์ และคมนาคม เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือระหว่างกัน แต่แม้ทั้งสองประเทศต้องร่วมกันแก้ไข เพื่อสร้างความไว้วางใจต่อกัน เช่น ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ปัญหาการปักปันเขตแดนทางบกและทางน้ำ ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ และปัญหาการลักลอบค้ายาเสพติด เป็นต้น

อาหารประจำชาติ

ชุดประจำชาติ
หญิง สวมเสื้อ บาราจูกุงซึ่งเป็นเสื้อแขนยาวที่มีขนาดตัวยาวถึงเข่า หรือเสื้อ คะบาย่าซึ่งเป็นเสื้อแขนยาวสีสันสดใสและมีลายฉลุดอกไม้ ขนาดพอดีตัวปิดถึงสะโพก และนุ่งกับโสร่งที่มีลวดลายเข้ากับเสื้อ บางครั้งมีผ้าคล้องคอ และสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าส้นสูงแบบสากล
ชาย สวมเสื้อแขนยาวแบบคอปิดติดกระดุม และนุ่งกางเกงยาวสีเดียวกับเสื้อ ที่เรียกว่าชุด บาจูมลายูซึ่งมีผ้าคาดทับเอว และสวมหมวกแบบมุสลิมที่เรียกว่า ซอเกาะสวมรองเท้าหนังแบบสากล 

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
            ด้วยเหตุที่มีหลายชนชาติอยู่รวมกัน ทำให้ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายผสมผสานกัน ซึ่งมีทั้งการผสานศิลปวัฒนธรรมจากชนชาติอื่น และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของชนแต่ละกลุ่มในแต่ละพื้นที่
       การรำซาปิน  (Zapin) เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำทั่ได้รับอิทธิพลมากดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิงชายจำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบียน และกลองเล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว
       เทศกาลทาเดา คาอามาตัน  (Tadau Kaamatan)  เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาร์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูกาลการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองด้วยิ์
สกุลเงิน ริงกิต  (Ringgit) ตัวย่อ MYR
อัตราการแลกเปลี่ยน 1 ริงกิต = 10 บาท
          3.8 ริงกิต = 1 ดอลลาร์สหรัฐโดยประมาณ